
6 สิ่ง ป้องกัน เส้นเลือดขอด
เส้นเลือดขอด กันไว้ก่อนแก้!! แม้จะเป็นภัยอันตรายที่พรากทั้งความสวยงามและความมั่นใจแล้วนั้น ยังเป็นภาวะความผิดปกติของหลอดเลือดดำบริเวณใกล้ชั้นผิวหนังที่ขยายตัวออกมา ทำให้เกิดอาการปวด บวมแดงบริเวณนั้นๆ ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่าสาเหตุของการเกิดเส้นเลือดขอด ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรม อิริยาบถ เช่น การยืนหรือนั่งเป็นเวลานาๆ ซึ่งพฤติกรรมในชีวิตประจำวันเหล่านี้ ทำให้เส้นเลือดที่ไหลลงมาหล่อเลี้ยงขาไม่สามารถไหลเวียนกลับขึ้นสู่หัวใจได้ ซึ่งอาการเช่นนี้จะส่งผลทำให้เกิดเส้นเลือดขอดได้
ปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดขอด
- เพศ การเป็นเส้นเลือดขอดนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สาเหตุมาจากฮอร์โมนเพศหญิงที่ไปทำให้ผนังหลอดเลือดคลายตัวลง ส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดการรั่วของลิ้นหลอดเลือดได้
- พันธุกรรม ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอดจะยิ่งทำให้มีโอกาสเกิดเส้นเลือดขอดได้มากกว่าผู้อื่น
- อายุ การที่อายุอายุเพิ่มมากขึ้น หลอดเลือดก็เริ่มที่จะหลวมและหย่อนตัวลง เป็นเหตุให้ลิ้นหลอดเลือดทำงานได้ไม่ดี นำไปสู่การเส้นเลือดขอดได้
- น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ จะทำให้เกิดแรงดันบนหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งเลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจ ส่งผลให้เกิดแรงดันที่ลิ้นหลอดเลือดสูงและเสี่ยงต่อการรั่วของเลือดมากยิ่งขึ้น
- อาชีพที่ต้องยืนเป็นเวลานาน เคลื่อนไหวน้อย จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอด เช่น คุณครู พนักงานต้อนรับ ช่างทำผม พนักงานฝ่ายผลิต พนักงานยืนขายของ มีแนวโน้มพบเส้นเลือดขอดได้ง่าย เพราะเลือดจะไหลได้ยากขึ้นเมื่อยืนเป็นเวลานานๆ
- หญิงตั้งครรภ์ ในระหว่างการตั้งครรภ์ เลือดในร่างกายของหญิงตั้งครรภ์จะเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่การตึงของหลอดเลือด นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นยังสามารถทำให้ผนังกล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวจนลิ้นเปิดปิดเลือดทำงานบกพร่องได้ด้วย
ซึ่งเราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอดได้ด้วยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และลดการตึงของกล้ามเนื้อ ดังนี้
วิธีการป้องกันเส้นเลือดขอด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรง การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น เช่น เต้นแอโรบิค เล่นโยคะ การเดิน เป็นต้น เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ ระบบเลือดในร่างกายมีการหมุนเวียนที่ดีขึ้น
- พยายามนอนยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ โดยใช้หมอนหนุนบริเวณปลายเท้า หรือใต้หัวเข่า ซึ่งจะช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดีขึ้น และลดอาการปวด และทำให้ลักษณะของเส้นเลือดขอดมีขนาดเล็กลง
- ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- บริหารข้อเท้าขณะนั่ง โดยเหยียดปลายเท้าและกระดกปลายเท้าสลับกันตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงการใส่ส้นสูงหรือถุงเท้ารัด ๆ เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก
- เปลี่ยนท่าทางการนั่งและยืนอยู่เสมอ โดยหลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งเป็นเวลานานๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายได้มีโอกาสส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้อย่างเต็มที่
หลักๆ ของวิธีการป้องกันเส้นเลือดขอด คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่หากผู้ที่มีเส้นเลือดขอดในระยะเริ่มแรก อยากให้รีบมารักษาตั้งแต่ระยะแรกๆที่พบเห็น โดยจะใช้วิธีการฉีดสลายเส้นเลือดขอดร่วมกับการใช้ถุงน่องทางการแพทย์ที่รักษาเส้นเลือดขอดโดยเฉพาะ หรือพันผ้ายางยืด (compression therapy) รักษาร่วมกันให้เร็วที่สุด การฉีดสลายเส้นเลือดขอด sclerosing therapy จึงเป็นวิธีการรักษาเส้นเลือดขอดที่ขาและเส้นเลือดฝอยที่ขาได้ดีที่สุดและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด เพื่อไม่ให้อาการเส้นเลือดขอดร้ายแรงขึ้น
เริ่มต้นดูแลตัวเองตั้งแต่วันนี้ เพราะหากปล่อยไว้นานอาจมีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต ควรขยับตัวทำกิจกรรมต่าง ๆ และออกกำลังในท่าต่าง ๆ เป็นประจำ เพื่อให้ห่างไกลโรคเส้นเลือดขอดและมีสุขภาพที่แข็งแรง และหากมีอาการเจ็บปวดให้รีบมาพบแพทย์ทันที ก่อนที่จะสายไปนะคะ
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ท่านสามารถเข้ามาขอคำปรึกษาเรื่อง เส้นเลือดขอด กับทีมแพทย์ “คลินิกศัลยกรรมชลบุรี De Queens Clinic” เพื่อทราบวิธีที่เหมาะกับตัวของท่าน ยินดีให้คำปรึกษาฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสามารถปรึกษาหมอทาง inbox facebook หรือ Line : @dequeensclinic
ไม่เจอแสงแดดบ่อย แต่ทำไมยังเป็นฝ้า กระ?
แม้ไม่ได้ตากแดดโดยตรง แต่เรายังสามารถได้รับรังสี UV ได้จาก
- Indirect UV รังสี UV สามารถสะท้อนจากพื้นผิวต่างๆ เช่น ก้อนเมฆ, อาคาร, พื้นถนน, ผิวน้ำ มากระทบผิวเราได้ แม้ในวันที่ฟ้าครึ้ม หรืออยู่ในที่ร่มแต่ยังมองเห็นท้องฟ้า ก็ยังมีความเสี่ยงได้รับรังสี UV
- การทะลุผ่านกระจก รังสี UVA สามารถทะลุผ่านกระจกหน้าต่างได้ การนั่งทำงานริมหน้าต่าง หรืออยู่ในอาคารที่มีกระจกใส ก็ยังสัมผัสกับ UVA ได้
หน้าเป็นฝ้า กระ ทั้งที่แทบไม่ได้ออกไปไหน เพราะอะไร?
นอกจากรังสี UV จากแสงแดด (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นการเกิดฝ้า กระได้ แม้จะอยู่ในอาคารเป็นส่วนใหญ่
- แสงสีฟ้าจากหน้าจอ (Blue Light) หรือ High Energy Visible Light (HEVL) เป็นแสงที่มองเห็นได้ มีความยาวคลื่นประมาณ 400-500 นาโนเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับ UVA แหล่งกำเนิดมีทั้งจากธรรมชาติ (ดวงอาทิตย์) และจากอุปกรณ์ที่เราใช้เป็นประจำ เช่น สมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, โทรทัศน์
- ทำไมแสงสีฟ้าถึงทำให้เกิดฝ้า กระ? มีงานวิจัยชี้ว่าการสัมผัสแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน สามารถทะลุเข้าสู่ผิวหนังได้ลึก และอาจกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน รวมถึงกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน ทำให้ผิวหมองคล้ำ เกิดจุดด่างดำ และฝ้าได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีสีผิวเข้ม หรือมีแนวโน้มเป็นฝ้าง่ายอยู่แล้ว - หลอดไฟบางชนิด หลอดไฟบางประเภท โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดไฟที่ให้ความร้อนสูง อาจปล่อยรังสี UVA ออกมาในปริมาณเล็กน้อย หรือปล่อยความร้อน ซึ่งความร้อนก็เป็นอีกปัจจัยที่สามารถกระตุ้นการสร้างเมลานินได้เช่นกัน การสัมผัสเป็นประจำ แม้ปริมาณรังสีจะไม่เท่าแสงแดด แต่ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมได้ ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า “ไม่เจอแสงแดด ไม่ต้องทาครีมกันแดด” จึงไม่ถูกต้องนัก เพราะเรายังเผชิญกับแสงสีฟ้าและความร้อนจากหลอดไฟได้ตลอดวัน การทาครีมกันแดดที่ปกป้องได้ทั้ง UVA, UVB และอาจรวมถึง Blue Light จึงยังคงจำเป็น
ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เป็นฝ้า กระ นอกเหนือจากแสง
- พันธุกรรม หากพ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นฝ้า กระ ก็มีแนวโน้มที่เราจะเป็นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในคนเอเชีย และกระบางชนิดอาจพบได้ตั้งแต่เด็ก ฝ้าหรือกระที่เกิดจากพันธุกรรมมักกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายแม้รักษาจนจางลงแล้ว
-
ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน) มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้ มักพบใน:
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ (เรียกว่า Chloasma หรือ "หน้ากากแห่งการตั้งครรภ์")
- ผู้ที่ทานยาคุมกำเนิด หรือรับฮอร์โมนทดแทน
- ผู้ที่มีภาวะเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ฝ้าที่เกิดจากฮอร์โมน อาจจางลงได้เองหลังคลอด หรือเมื่อหยุดยาคุม หรือเมื่อระดับฮอร์โมนกลับสู่สมดุล - ยาบางชนิด: ยาหลายชนิดทำให้ผิวไวต่อแสง (Photosensitivity) มากขึ้น ทำให้เกิดฝ้า กระ หรือจุดด่างดำได้ง่ายเมื่อสัมผัสแสง แม้เพียงเล็กน้อย ตัวอย่างยา เช่น ยากันชักบางชนิด, ยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม (Tetracyclines, Sulfonamides), ยาขับปัสสาวะ, ยารักษาความดันบางชนิด, NSAIDs, เรตินอยด์ (ยากลุ่มวิตามินเอ), ยาต้านอาการทางจิตบางชนิด, ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า เป็นต้น
-
เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
- สารประกอบบางชนิดในเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม, แอลกอฮอล์, สี อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือแพ้ และตามมาด้วยรอยดำหรือกระตุ้นฝ้าได้ในบางคน
- ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีสารอันตราย เช่น ปรอท, สเตียรอยด์, ไฮโดรควิโนน (ในความเข้มข้นที่ไม่เหมาะสมและไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์) ซึ่งมักอวดอ้างว่าทำให้หน้าขาวใสเร็ว อาจทำลายผิวในระยะยาว ทำให้ผิวบางลง แพ้ง่าย ไวต่อแสง และเกิดฝ้าถาวร หรือรอยดำผิดปกติได้ เมื่อหยุดใช้อาจมีอาการเห่อ หรือเห็นเส้นเลือดฝอยชัดเจนขึ้น - ความเครียด เมื่อเราเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งนอกจากส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังสามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินให้เพิ่มมากขึ้นได้ ทำให้ฝ้าดูเข้มขึ้นหรือเกิดใหม่ได้
ปกป้องผิวจากปัญหาฝ้า กระ ด้วยวิธีไหนได้บ้าง?
- ทาครีมกันแดดเป็นประจำ สำคัญที่สุด! เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 หรือสูงกว่า และมี PA++++ เพื่อปกป้องผิวจากทั้งรังสี UVA และ UVB ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทาให้ทั่วใบหน้าและลำคอทุกวัน แม้ในวันที่ไม่ได้ออกแดด หรือทำงานในอาคาร (อาจเลือกชนิดที่ป้องกัน Blue Light ได้ด้วย) ควรทาก่อนออกแดดอย่างน้อย 15-30 นาที และทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมงหากอยู่กลางแจ้งหรือเหงื่อออกมาก
- หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 - 16.00 น. หากต้องออกแดด ควรใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น สวมหมวกปีกกว้าง, แว่นกันแดด, เสื้อแขนยาว หรือกางร่ม
- ดูแลสุขภาพผิวให้แข็งแรง ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะสมกับสภาพผิว เน้นการให้ความชุ่มชื้นและเสริมสร้างเกราะป้องกันผิว อาจปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมช่วยลดเลือนจุดด่างดำ หรือพิจารณาหัตถการที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น
- พิจารณาเรื่องยาและฮอร์โมน หากสงสัยว่ายาที่ใช้อยู่ หรือการคุมกำเนิด อาจเป็นสาเหตุของฝ้า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนยาหรือวิธีการคุมกำเนิด (ห้ามหยุดยาเอง)
- พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ลดการใช้หน้าจอก่อนนอน
- จัดการความเครียด หากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย, ฟังเพลง, ทำสมาธิ หรือพักผ่อนหย่อนใจ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้หลากสี ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง (เช่น วิตามินซี, วิตามินอี) และดื่มน้ำให้เพียงพอ
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีส่วนผสมที่อาจก่อการระคายเคือง ระวังผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงว่าขาวเร็วขาวไว
รักษาฝ้า กระ ที่ไหนดี?
- Pico Laser เลเซอร์ที่นิยมมากในการรักษาเม็ดสี สามารถทำลายเม็ดสีได้อย่างจำเพาะเจาะจง และกระตุ้นคอลลาเจน
- Q-Switched Laser เลเซอร์อีกชนิดที่ใช้รักษาเม็ดสีได้ดี
- หัตถการอื่นๆ เช่น การฉีดเมโสฝ้า (Mesotherapy), การทำทรีตเมนต์ผลัดเซลล์ผิว หรือการใช้ยาทาภายใต้การดูแลของแพทย์
การเลือกวิธีรักษาควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินชนิดของฝ้า กระ และสภาพผิว เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและได้ผลดีที่สุด
หากไม่มั่นใจว่าจะเลือกคลินิกไหน ให้ เดอควีนส์ คลินิก ช่วยดูแลได้ค่ะ เรามีบริการด้านความงามที่หลากหลาย รวมถึงโปรแกรมการรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Pico Laser ทีมแพทย์ของเรามีประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาและออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด
สำหรับใครที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และส่งภาพให้แพทย์ประเมินเบื้องต้นได้ที่ Line: @dequeensclinic หมอตอบเอง หรือสามารถเข้ารับบริการ Walk-in ได้ที่ เดอควีนส์ คลินิก ทั้ง 2 สาขา ได้แก่ คลินิกความงามชลบุรี และคลินิกความงามเพชรบุรี