รู้เท่าทันอาการเส้นเลือดขอด

อาการเส้นเลือดขอด

อาการ-เส้นเลือดขอด

การนั่ง หรือยืนเป็นเวลานานๆ จากการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ล้วนเป็นหนึ่งปัจจัยทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เกิดแรงดันภายในหลอดเลือดดำ เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดเส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดเกิดจากเส้นเลือด และขั้วเปิด - ปิดในเส้นเลือดไม่สมบูรณ์ เสื่อมสภาพ จึงเกิดการคั่งของเส้นเลือด ปกติขณะที่หัวใจสูบฉีดส่งเลือดแดงเลี้ยงอวัยวะในร่างกาย จะมีเลือดที่ใช้ออกซิเจนหมดแล้วขึ้นกลับไปฟอกใหม่ ซึ่งเส้นเลือดในบางเส้นที่ไม่มีความแข็งแรงจะไม่สามารถส่งเลือดกลับไปได้ตามปกติ จึงมีการคั่งของเลือด ทำให้เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดที่ขามี 2 ประเภท คือ

เส้นเลือดโป่ง (Varicose Veins) เกิดจากผนังเส้นเลือดบาง ทำให้เส้นเลือดพอง และขดเป็นหยักอาจมีสีเขียวผสมม่วง

เส้นเลือดฝอย ลักษณะเป็นแพแบบเส้นใยแมงมุม (Spider Veins) อยู่ตื้นมีขนาดเล็ก สีม่วงหรือแดงมองเห็นคล้ายใยแมงมุม

 

อาการของเส้นเลือดขอดสามารถเห็นได้ อาจมีลักษณะเป็นเส้นสีแดง สีม่วง และสีเขียวตามจุดต่างๆ ของร่างกาย อาทิ บริเวณน่อง ขาพับ ต้นขา อาการอื่น ๆ เช่น บางรายอาจปวดเมื่อยขา เมื่อได้นอนราบและยกขาสูงจะรู้สึกดีขึ้น แต่ในบางรายไม่มีอาการร่วมหากปล่อยไว้นานจะเป็นมากขึ้นได้

 

สาเหตุของเส้นเลือดขอด

 

  1. เกิดจากทำงานโดยต้องยืน เดิน นานๆ เช่น พนักงานขายสินค้า พนักงานเก็บค่าโดยสาร
  2. เกิดจากกรรมพันธุ์ พ่อแม่มีหลอดเลือดขอด ลูกก็มีโอกาสเป็นด้วย
  3. เกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น จะเป็นหลอดเลือดขอดเพิ่มขึ้นเนื่องจากความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของลิ้นหลอดเลือดลดน้อยลง
  4. เกิดจากฮอร์โมนเพศ ซึ่งเพศหญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศชายเนื่องจากผลของฮอร์โมนเพศหญิงโดยตรง
  5. เกิดจากการมีน้ำหนักมากเกินไป คนที่มีน้ำหนักมากเกินเลือดจะหมุนเวียนได้ไม่สะดวก จะเกิดการคั่งค้างของเลือดบริเวณขามากขึ้น จึงทำให้เกิดหลอดเลือดขอดได้มาก
  6. เกิดจากการกระทบกระแทกหรือกดทับเช่น ไขว่ห้าง เนื่องจากเลือดเดินไม่สะดวก
  7. เกิดจากการใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งจะทำให้เลือดหมุนเวียนได้ไม่ดี

แนวทางการจัดการกับเส้นเลือดขอดสามารถทำได้โดย

แพทย์จะพิจารณาจากอาการ และลักษณะของเส้นเลือดที่ขอดของแต่ละบุคคล ซึ่งมี 2 แนวทางด้วยกัน คือ การรักษาเส้นเลือดขอดโดยไม่ผ่าตัดแบบประคับประคอง ด้วยวิธีรักษาตามอาการ ตั้งแต่การปฏิบัติตัวเปลี่ยนอิริยาบถ, สวมถุงน่องชนิดพิเศษ ซึ่งมีความหนา และแน่นกว่าถุงน่องทั่วไป,ใช้ยานวดบรรเทาอาการ, การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ และเมื่อรับการรักษาข้างต้นที่กล่าวมา แต่อาการไม่ดีขึ้น สุดท้ายเป็นการรักษาเส้นเลือดขอดแบบผ่าตัดจะทำในกรณีเกิดภาวะอุดตันภายในหลอดเลือดอาจเป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่นๆและมีภาวะแทรกซ้อน

 

ทำไมต้องรักษา

 

เส้นเลือดขอดเป็นโรคที่หลายๆ คนละเลย เพราะคิดว่าไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อการดำเนินชีวิต แต่ความจริงแล้ว หากเราปล่อยให้เส้นเลือดขอดอยู่กับเราไปนานๆ คุณอาจจะต้องทุกข์ทรมานกับอาการปวดจนถึงขั้นไม่สามารถที่จะยืนหรือเดินได้ หรือในบางรายเป็นมากจนถึงขั้นเส้นเลือดแตก การรักษาหลอดเลือดขอด ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือดขอดมี 5 วิธี

  1. การพันขาลดอาการคั่งบวม
  2. การฉีดสารเคมีทำให้หลอดเลือดตีบ (Sclerotherapy)
  3. การใช้ คลื่นความถี่วิทยุ Radio Frequency Ablation (RFA)
  4. การใช้ Laser
  5. การผ่าตัด

ทางเลือกใหม่ในการจัดการ “เส้นเลือดขอด”

Radio Frequency Ablation (RFA) เป็นเครื่องมือที่ทันสมัยและมีแผลขนาดเล็ก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลหลังการรักษากลับบ้านได้ทันที ทำให้ไม่มีผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน การรักษาด้วย Radio Frequency Ablation (RFA) ใช้หลักการเดียวกับการเลเซอร์โดยใช้สาย Fiberoptic เข้าไปในหลอดเลือดดำที่มีปัญหาและพลังงานของ Radio Frequency เข้าไปสลายหลอดเลือดเหล่านั้น

 

คำแนะนำในการปฏิบัติหลังการรักษา

 

  1. ควรงดการยกของหนักหรือยืนนานๆ เป็นเวลา 3 - 7 วัน
  2. ควรใส่ผ้ายืดหรือซัพพอร์ทในบริเวณที่ทำการรักษา เพื่อประคองกล้ามเนื้อและเส้นเลือดบริเวณนั้น ส่วนระยะเวลาที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือด โดยเส้นเลือดเล็กฝอยให้ใส่ไว้ 1 - 3 วัน ส่วนเส้นเลือดขอดขนาดกลาง (ขนาดเท่าไส้ปากกา) ควรใส่อย่างน้อย 7 วัน ขึ้นไป
  3. ควรออกกำลังกายด้วยการเดินทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ยากระจายตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น
  4. ควรพบแพทย์ตามนัดภายใน 2 - 4 สัปดาห์ เพื่อแพทย์จะได้ติดตามผลการรักษา

 

รักษาเส้นเลือดขอด

วิธีการรักษาเส้นเลือดขอดจะขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยแพทย์ผู้ชำนาญการจะพิจารณาตามความเหมาะสม ได้แก่

การรักษาแบบประคับประคอง (Conservative Treatment) ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แนะนำให้ใช้ถุงน่องชนิดพิเศษที่มีระดับความแน่น (Pressure Gradient) แตกต่างกันไล่ระดับจากเท้าที่แน่นที่สุดและลดหลั่นลงเมื่อสูงขึ้นเพื่อให้เลือดไหลกลับจากส่วนปลายขึ้นมาได้ดี


การฉีดสารเคมีที่เส้นเลือดขอด (Sclerosing Therapy) ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดเล็ก โดยใช้เวลา 15 – 30 นาทีที่แผนกผู้ป่วยนอก ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล 


การใช้เลเซอร์ความร้อนหรือคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radio Frequency) โดยใช้หลักการรักษาด้วยการใส่สายขนาดเล็กใส่เข้าไปในหลอดเลือดดำแล้วอาศัยพลังงานจากเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุความถี่สูงที่ทำให้เส้นเลือดขอดฝ่อไป โดยต้องประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนนัดมาทำ งดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมงก่อนทำ ใช้ระยะเวลาในห้องผ่าตัดเล็กประมาณ 30 – 45 นาที หลังผ่าตัดจะพันขาด้วย Elastic Bandage จากนั้นแนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษต่อ แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กประมาณ 2 มิลลิเมตร หลังทำการรักษาแพทย์จะนัดติดตามอาการ 1 – 2 สัปดาห์ 


การผ่าตัด ในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ต้องประเมินความพร้อมของร่างกายก่อนนัดมาผ่าตัด งดน้ำและอาหาร 6 – 8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง หลังผ่าตัดจะพันขาด้วย Elastic Bandage จากนั้นแนะนำให้ใส่ถุงน่องชนิดพิเศษต่อ และแพทย์จะนัดติดตามอาการ 1 – 2 สัปดาห์ 

 

ป้องกันก่อนสาย

การป้องกันเส้นเลือดขอดทำได้โดย

ออกกำลังกาย การเดินเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณขาดีขึ้น

ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

เลี่ยงการนั่งหรือยืนนาน ๆ ให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

บริหารข้อเท้าขณะนั่ง โดยเหยียดปลายเท้าและกระดกปลายเท้าสลับกันตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด

ท่านสามารถเข้ามาขอคำปรึกษาเรื่อง เส้นเลือดขอด สิว ฝ้า กระ สีผิว กับผู้เชี่ยวชาญ “คลินิกรักษาเส้นเลือดขอดชลบุรี De Queens Clinic” เพื่อทราบวิธีที่เหมาะกับตัวของท่านได้ครับ

ไม่เจอแสงแดดบ่อย แต่ทำไมยังเป็นฝ้า กระ?

แม้ไม่ได้ตากแดดโดยตรง แต่เรายังสามารถได้รับรังสี UV ได้จาก

  • Indirect UV รังสี UV สามารถสะท้อนจากพื้นผิวต่างๆ เช่น ก้อนเมฆ, อาคาร, พื้นถนน, ผิวน้ำ มากระทบผิวเราได้ แม้ในวันที่ฟ้าครึ้ม หรืออยู่ในที่ร่มแต่ยังมองเห็นท้องฟ้า ก็ยังมีความเสี่ยงได้รับรังสี UV
  • การทะลุผ่านกระจก รังสี UVA สามารถทะลุผ่านกระจกหน้าต่างได้ การนั่งทำงานริมหน้าต่าง หรืออยู่ในอาคารที่มีกระจกใส ก็ยังสัมผัสกับ UVA ได้

หน้าเป็นฝ้า กระ ทั้งที่แทบไม่ได้ออกไปไหน เพราะอะไร?

นอกจากรังสี UV จากแสงแดด (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) แล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นการเกิดฝ้า กระได้ แม้จะอยู่ในอาคารเป็นส่วนใหญ่

  1.  แสงสีฟ้าจากหน้าจอ (Blue Light) หรือ High Energy Visible Light (HEVL) เป็นแสงที่มองเห็นได้ มีความยาวคลื่นประมาณ 400-500 นาโนเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับ UVA แหล่งกำเนิดมีทั้งจากธรรมชาติ (ดวงอาทิตย์) และจากอุปกรณ์ที่เราใช้เป็นประจำ เช่น สมาร์ทโฟน, คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, โทรทัศน์
     - ทำไมแสงสีฟ้าถึงทำให้เกิดฝ้า กระ? มีงานวิจัยชี้ว่าการสัมผัสแสงสีฟ้าเป็นเวลานาน สามารถทะลุเข้าสู่ผิวหนังได้ลึก และอาจกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำลายคอลลาเจนและอีลาสติน รวมถึงกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานิน ทำให้ผิวหมองคล้ำ เกิดจุดด่างดำ และฝ้าได้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีสีผิวเข้ม หรือมีแนวโน้มเป็นฝ้าง่ายอยู่แล้ว
  2. หลอดไฟบางชนิด หลอดไฟบางประเภท โดยเฉพาะหลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดไฟที่ให้ความร้อนสูง อาจปล่อยรังสี UVA ออกมาในปริมาณเล็กน้อย หรือปล่อยความร้อน ซึ่งความร้อนก็เป็นอีกปัจจัยที่สามารถกระตุ้นการสร้างเมลานินได้เช่นกัน การสัมผัสเป็นประจำ แม้ปริมาณรังสีจะไม่เท่าแสงแดด แต่ก็อาจเป็นปัจจัยเสริมได้ ดังนั้น ความเชื่อที่ว่า “ไม่เจอแสงแดด ไม่ต้องทาครีมกันแดด” จึงไม่ถูกต้องนัก เพราะเรายังเผชิญกับแสงสีฟ้าและความร้อนจากหลอดไฟได้ตลอดวัน การทาครีมกันแดดที่ปกป้องได้ทั้ง UVA, UVB และอาจรวมถึง Blue Light จึงยังคงจำเป็น

ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เป็นฝ้า กระ นอกเหนือจากแสง

  • พันธุกรรม หากพ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีประวัติเป็นฝ้า กระ ก็มีแนวโน้มที่เราจะเป็นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในคนเอเชีย และกระบางชนิดอาจพบได้ตั้งแต่เด็ก ฝ้าหรือกระที่เกิดจากพันธุกรรมมักกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายแม้รักษาจนจางลงแล้ว
  • ฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน) มีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้ มักพบใน:
     - ผู้ที่ตั้งครรภ์ (เรียกว่า Chloasma หรือ "หน้ากากแห่งการตั้งครรภ์")
     - ผู้ที่ทานยาคุมกำเนิด หรือรับฮอร์โมนทดแทน
     - ผู้ที่มีภาวะเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ฝ้าที่เกิดจากฮอร์โมน อาจจางลงได้เองหลังคลอด หรือเมื่อหยุดยาคุม หรือเมื่อระดับฮอร์โมนกลับสู่สมดุล
  • ยาบางชนิด: ยาหลายชนิดทำให้ผิวไวต่อแสง (Photosensitivity) มากขึ้น ทำให้เกิดฝ้า กระ หรือจุดด่างดำได้ง่ายเมื่อสัมผัสแสง แม้เพียงเล็กน้อย ตัวอย่างยา เช่น ยากันชักบางชนิด, ยาปฏิชีวนะบางกลุ่ม (Tetracyclines, Sulfonamides), ยาขับปัสสาวะ, ยารักษาความดันบางชนิด, NSAIDs, เรตินอยด์ (ยากลุ่มวิตามินเอ), ยาต้านอาการทางจิตบางชนิด, ยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า เป็นต้น
  • เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
     - สารประกอบบางชนิดในเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม, แอลกอฮอล์, สี อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือแพ้ และตามมาด้วยรอยดำหรือกระตุ้นฝ้าได้ในบางคน
     - ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีสารอันตราย เช่น ปรอท, สเตียรอยด์, ไฮโดรควิโนน (ในความเข้มข้นที่ไม่เหมาะสมและไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์) ซึ่งมักอวดอ้างว่าทำให้หน้าขาวใสเร็ว อาจทำลายผิวในระยะยาว ทำให้ผิวบางลง แพ้ง่าย ไวต่อแสง และเกิดฝ้าถาวร หรือรอยดำผิดปกติได้ เมื่อหยุดใช้อาจมีอาการเห่อ หรือเห็นเส้นเลือดฝอยชัดเจนขึ้น
  • ความเครียด เมื่อเราเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งนอกจากส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังสามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินให้เพิ่มมากขึ้นได้ ทำให้ฝ้าดูเข้มขึ้นหรือเกิดใหม่ได้

ปกป้องผิวจากปัญหาฝ้า กระ ด้วยวิธีไหนได้บ้าง?

  1.  ทาครีมกันแดดเป็นประจำ สำคัญที่สุด! เลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 หรือสูงกว่า และมี PA++++ เพื่อปกป้องผิวจากทั้งรังสี UVA และ UVB ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทาให้ทั่วใบหน้าและลำคอทุกวัน แม้ในวันที่ไม่ได้ออกแดด หรือทำงานในอาคาร (อาจเลือกชนิดที่ป้องกัน Blue Light ได้ด้วย) ควรทาก่อนออกแดดอย่างน้อย 15-30 นาที และทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมงหากอยู่กลางแจ้งหรือเหงื่อออกมาก
  2. หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 - 16.00 น. หากต้องออกแดด ควรใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น สวมหมวกปีกกว้าง, แว่นกันแดด, เสื้อแขนยาว หรือกางร่ม
  3. ดูแลสุขภาพผิวให้แข็งแรง ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะสมกับสภาพผิว เน้นการให้ความชุ่มชื้นและเสริมสร้างเกราะป้องกันผิว อาจปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมช่วยลดเลือนจุดด่างดำ หรือพิจารณาหัตถการที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวแข็งแรงขึ้น
  4. พิจารณาเรื่องยาและฮอร์โมน หากสงสัยว่ายาที่ใช้อยู่ หรือการคุมกำเนิด อาจเป็นสาเหตุของฝ้า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนยาหรือวิธีการคุมกำเนิด (ห้ามหยุดยาเอง)
  5. พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ลดการใช้หน้าจอก่อนนอน
  6. จัดการความเครียด หากิจกรรมผ่อนคลาย เช่น ออกกำลังกาย, ฟังเพลง, ทำสมาธิ หรือพักผ่อนหย่อนใจ
  7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้หลากสี ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง (เช่น วิตามินซี, วิตามินอี) และดื่มน้ำให้เพียงพอ
  8. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางหรือครีมบำรุงที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีส่วนผสมที่อาจก่อการระคายเคือง ระวังผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงว่าขาวเร็วขาวไว

รักษาฝ้า กระ ที่ไหนดี?

ปัญหาฝ้า กระ อาจรักษาให้หายขาดได้ยาก โดยเฉพาะฝ้าลึกหรือฝ้าจากพันธุกรรม แต่สามารถทำให้จางลงและควบคุมไม่ให้เข้มขึ้นได้ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน มีหัตถการหลายอย่างที่ช่วยรักษาได้ เช่น
  • Pico Laser เลเซอร์ที่นิยมมากในการรักษาเม็ดสี สามารถทำลายเม็ดสีได้อย่างจำเพาะเจาะจง และกระตุ้นคอลลาเจน
  • Q-Switched Laser เลเซอร์อีกชนิดที่ใช้รักษาเม็ดสีได้ดี
  • หัตถการอื่นๆ เช่น การฉีดเมโสฝ้า (Mesotherapy), การทำทรีตเมนต์ผลัดเซลล์ผิว หรือการใช้ยาทาภายใต้การดูแลของแพทย์

การเลือกวิธีรักษาควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินชนิดของฝ้า กระ และสภาพผิว เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและได้ผลดีที่สุด

หากไม่มั่นใจว่าจะเลือกคลินิกไหน ให้ เดอควีนส์ คลินิก ช่วยดูแลได้ค่ะ เรามีบริการด้านความงามที่หลากหลาย รวมถึงโปรแกรมการรักษาฝ้า กระ จุดด่างดำ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Pico Laser ทีมแพทย์ของเรามีประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาและออกแบบการรักษาเฉพาะบุคคล เพื่อผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของคุณมากที่สุด

สำหรับใครที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และส่งภาพให้แพทย์ประเมินเบื้องต้นได้ที่ Line: @dequeensclinic หมอตอบเอง หรือสามารถเข้ารับบริการ Walk-in ได้ที่ เดอควีนส์ คลินิก ทั้ง 2 สาขา ได้แก่ คลินิกความงามชลบุรี และคลินิกความงามเพชรบุรี

รักษาเส้นเลือดขอด ชลบุรี เพชรบุรี DeQueens

รักษาเส้นเลือดขอด

รักษาเส้นเลือดขอด ชลบุรี เพชรบุรี การรักษาเส้นเลือดขอดโดยวิธีการฉีดยา เป็นวิธีที่เหมาะกับเส้นเลือดขอดที่มีขนาดเล็กที่เป็นแขนงบริเวณผิวหนัง
ข้อมูลบริการเพิ่มเติม
รักษาเส้นเลือดขอด ชลบุรี เพชรบุรี  1,999 บาท จำนวนจำกัด

รักษาเส้นเลือดขอด

โปรแกรมรักษาเส้นเลือดขอด เพียง 1,999 บาท
รายละเอียดโปรโมชั่น
เส้นเลือดขอด ใส่ถุงน่องแล้วปกป้องได้จริงหรือ?

เส้นเลือดขอด ใส่ถุงน่องแล้วปกป้องได้จริงหรือ?

ปัญหาเส้นเลือดขอดนั้น แม้รักษาแล้วก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ แพทย์จึงคิดค้นสิ่งที่เรียกว่าถุงน่องเส้นเลือดขอด เพื่อนำมาช่วยในการรักษาและป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอด
อ่านเพิ่มเติม
ถุงน่องเส้นเลือดขอดคืออะไร ทำไมต้องใส่

ถุงน่องเส้นเลือดขอดคืออะไร ทำไมต้องใส่

เมื่อกล่าวถึงการรักษาเส้นเลือดขอด หลายคนอาจได้ยินสิ่งที่เรียกว่า “ถุงน่องเส้นเลือดขอด” ที่เป็นส่วนหนึ่งของการรักษานั่นเอง แต่หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วถุงน่องเส้นเลือดขอดคืออะไร เหมือนกับถุงน่องทั่วไปหรือไม่ แล้วทำไมต้องใส่ จำเป็นต้องใส่ไหม?? ในบทความนี้ จะมาตอบข้อสงสัยของทุกคนกันค่ะ
อ่านเพิ่มเติม
เส้นเลือดขอดที่ขา เกิดจาก ? เช็คระยะ เส้นเลือดขอด ระดับไหนปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว

เส้นเลือดขอดที่ขา เกิดจาก ? เช็คระยะ เส้นเลือดขอด ระดับไหนปล่อยไว้ไม่ได้แล้ว

เมื่อพูดถึง เส้นเลือดขอด หลายคนอาจมองว่า ไม่ได้เป็นโรค หรืออาการป่วยที่รุนแรงมากนัก เพียงแค่เกิดความไม่สวยงาม ขาไม่สวย ขาลาย
อ่านเพิ่มเติม